วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555
ฟลุ้ต
ลักษณะองค์ประกอบของเครื่องดนตรีในวงโยธวาทิตและมาตรฐานในปัจจุบัน
ลักษณะองค์ประกอบของเครื่องดนตรีในวงโยธวาทิต วงโยธวาทิต ประกอบด้วยเครื่องดนตรี 3 ตระกูล คือ
1. เครื่องลมไม้ (Woodwind Instruments)
2. เครื่องทองเหลือง (Brass Instruments)
3. เครื่องกระทบ (Percussions Instruments)
เครื่องลมไม้ (Woodwind Instruments)
แบ่งออกอย่างกว้างๆได้ 2 ประเภท คือ พวกขลุ่ย และพวกปี่ เครื่องดนตรีเหล่านี้ทำให้เกิดเสียงได้ โดยการเป่าลมผ่านช่องแคบๆเข้าไปในท่อ (pipe) ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวขยายเสียง ส่วนระดับเสียง สูง - ต่ำ จะขึ้นอยู่กับความยาวและขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวขยายเสียงหรือตัวท่อ และความแรงของลมที่เป่าเข้าไปในท่อ พวกขลุ่ยมีลักษณะเหมือนท่อออร์แกนชนิดรู (flue pipe) ส่วนพวกปี่ มีลักษณะเหมือนท่อออร์แกนชนิดลิ้น (reed pipe) รอบๆ ลำตัวของขลุ่ยและปี่จะมีรู เปิด ปิด ด้วยกระเดื่องนิ้ว (Key) รูเหล่านี้ทำหน้าที่เปลี่ยนความยาวของตัวท่ออากาศ (air column) ทำให้เกิดระดับเสียงต่างๆ การที่เรียกเครื่องดนตรีประเภทนี้ว่าเครื่องลมไม้ก็เพราะตัวท่อทำด้วยไม้แต่ในปัจจุบัน แม้ว่าเครื่องดนตรีบางชนิดเปลี่ยนไปทำด้วยโลหะ แต่ก็ยังจัดอยู่ในประเภทเครื่องลมไม้ คือ
1. เครื่องดนตรีประเภทขลุ่ย (Flute Instruments) ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งที่พัฒนาการมาพร้อมกับอารยธรรมของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในสมัยยุคหิน โดยนำกระดูกสัตว์และเขากวางที่เป็นท่อนกลวงหรือไม่ก็ปล้องไม้ไผ่มาเจาะรูแล้วเป่าให้เกิดเสียงต่างๆ ซึ่งต่อมาก็กลายเป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ย ขลุ่ยแบ่งอย่างกว้างๆ ได้ 2 ประเภท ตามลักษณะของการเป่า
ประเภทแรก คือ ขลุ่ยที่เป่าตรงปลาย (end-blown flute)ได้แก่ขลุ่ยไทย ฟลาโจเลท (Keyed flageolet) รีคอร์ดเดอร์ (Recorder) และขลุ่ยญี่ปุ่น (Shakuhachi)
ประเภทที่สอง คือขลุ่ยที่เป่าด้านข้าง (Side-blown flute or transverse flute) ได้แก่ ขลุ่ยอินเดีย ฟลุต (Flute) พิคโคโล (Piccolo) และ ไฟฟ์ (fife) เป็นต้น
ฟลุต (Flute)
เริ่มนำเข้ามาใช้ในวงดนตรีในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นขลุ่ยที่มีแต่รูเปล่าๆ (คล้ายขลุ่ยไทย) เมื่อเล่นขลุ่ยชนิดนี้ผู้เล่นจะใช้นิ้วมืออุดรู ถ้ารูใดห่างหน่อยก็ต้องพยายามเหยียดนิ้วไปอุดให้สนิท ฟลุตโบราณนี้จึงมีเสียงไม่มาก ในราว พ.ศ.2213 (ค.ศ. 1670)ได้มีนักประดิษฐ์ขลุ่ยผู้หนึ่ง ต้องการให้ฟลู้ตเล่นเสียงได้มากขึ้น จึงติดคีย์อันหนึ่งเพื่อปิดรูที่นิ้วถ่างไปได้ยาก ในระยะเวลาเดียวกันนี้ ลุลลี (พ.ศ. 2175 - 2230 หรือ ค.ศ. 1632 - 1687) ก็นำฟลุตเข้ามาในการแสดงอุปรากร ต่อมา พ.ศ. 2220 (ค.ศ. 1677) ควานทุข์ (พ.ศ. 2240 - 2316 หรือ ค.ศ. 1697 - 1773) นักดนตรีประจำราชสำนักของพระเจ้าเฟรดเดริคมหาราชแห่งปรัชเซีย (พ.ศ. 2255 - 2329 หรือ ค.ศ. 1712 - 1786) ได้ติดกระเดื่องนิ้วเพิ่มขึ้นอีก 2 อันที่ขลุ่ย ในสมัยนั้นดูเหมือนว่าควานทุข์ จะเป็นผู้เดียวที่เชี่ยวชาญการเป่าฟลุตมากกว่าผู้ใด เขาได้แต่งคอนแชร์โต สำหรับฟลุตไว้ประมาณ 300 ชิ้น และยังเป็นพระอาจารย์ถวายการสอนฟลู้ตแด่ พระเจ้าเฟรดเดริคมหาราชจนพระองค์มีความชำนาญในการบรรเลง จากนั้น เธโอบัลด์โบม (Theobald Bohm พ.ศ. 2337 - 2424 หรือ ค.ศ. 1794 - 1881) นักเล่นฟลุตของวงดนตรีแห่งราชสำนักบาวาเรีย ได้ปรับฟลุตจนเป็นเครื่องดนตรีสำคัญ เขาได้เจาะรูและติดคีย์เพิ่มขึ้นอีก ปลายกระเดื่องตรงที่ปิดรูซึ่งเป็นฝากลมเล็กๆ เขาได้บุนวมเพื่อปิดรูให้สนิทยิ่งขึ้น โบมได้แก้ไขกลไกเสียใหม่จนรัดกุม สามารถเล่นเสียงต่างๆได้อย่างสะดวก ขลุ่ยของเขาจึงได้ชื่อว่า “ขลุ่ยโบม” (Bohm flute) และเป็นขลุ่ยที่ยังนิยมใช้กันมาจนทุกวันนี้ โบม ยังนับว่าเป็นคนแรกที่ประดิษฐ์ด้วยโลหะ ชนิดที่มีราคาแพงก็ทำด้วยเงิน ทองคำ ฟลุตที่ทำด้วยโลหะจะมีคุณภาพของเสียงเช่นเดียวกับฟลู้ตที่ทำด้วยไม้ หรืออีโบไนท์ ฟลู้ตมีความยาว 26.5 นิ้ว มีช่วงเสียงตั้งแต่ C กลางถึง C ที่สูงขึ้นไปอีก 3 คู่แปด (3 Octave) เสียงของฟลุตคล้ายเสียงของขลุ่ยทั่วๆไป คือเสียงต่ำจะนุ่มนวลเสียงสูงจะพราวพริ้วบริสุทธิ์แจ่มใส ฟลุตจึงเป็นดนตรีเล่นท่วงทำนอง (Melodic Instrument) และเหมาะใช้บรรเลงเดี่ยว (Solo) เสียงของฟลุตใช้เลียนเสียงนก ลมพัด ได้เป็นอย่างดี
ส่วนประกอบของฟลุ้ต
Headjoint หรือที่เรียกว่าปากเป่า เป็นตัวกำเนิดเสียง ประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้
Reflector อยู่ด้านในสุดของรูเป็นตัวสร้างเสียง
Lip Plate เป็นส่วนวางปาก ซึ่งบน Lip Plateจะมีปากเป่า (Embouchure)เป็นส่วนให้ผู้เล่นผิวลมเข้า
Crown เป็นส่วนที่อยู่บนสุดของฟลูต สามารถหมุนออกเพื่อปรับ Refector ได้
Body เป็นส่วนควบคุมเสียง โดยมีส่วนคีย์และกลไกในการเล่น อาจจะมีกลไกเพิ่มเติมเช่น
E Mechanism
Foot คือส่วนหางมี 2 ประเภทคือ C Foot และ B Foot โดยฟลุตที่เป็น C Foot จะเล่นเสียงต่ำสุดได้คือ Middle C และฟลุตที่เป็น B Foot จะเล่นเสียงต่ำสุดได้คือเสียง B (ต่ำกว่า Middle C ครึ่งเสียง) ฟลูตที่เป็น B Foot จะราคาแพงกว่า ยาวกว่า และหนักกว่า C Foot
การบำรุงรักษาฟลุต ( Flute )
ส่วนประกอบของตัวเครื่อง
1. ส่วนหัว ( กำพวด )
2. ตัวเครื่อง
3. ส่วนท้าย
4. กระเดื่อง
5. ปากเป่าตัว U
วิธีการประกอบเครื่อง
Piccolo
1. ทาขี้ผึ่ง Slide Grease บาง ๆ ที่ข้อต่อ ตามรูป
2. ประกอบส่วนตัวเครื่อง พยายามหลีกเลี่ยงการใช้แรงกดบนกระเดื่อง หรือแป้นนวม
3. หมุนจนเครื่องหมายที่ส่วนหัวและตัวเครื่องตรงกัน
Flute
1. ทำนองเดียวกัน ก่อนที่จะประกอบส่วนต่าง ๆ ของ Flute เข้าด้วยกัน ให้ทาขี้ผึ้งทาท่อโลหะ ( Slide Grease ) เพียงบาง ๆ ที่ข้อต่อ
2. หมุนให้เครื่องหมายที่ส่วนหัว และตัวเครื่องตรงกัน
การเทียบเสียง
ในการเทียบเสียง Flute ให้แม่นยำ จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้อง หมั่นตรวจสอบ Soundboard ให้อยู่ ในตำแหน่งที่ถูกต้อง วิธีการตรวจสอบ ทำได้โดย สอดเหล็กทำความสะอาดเข้าไปในปากเป่า สังเกตให้รอยบากบน เหล็กทำความสะอาด อยู่ตรงกลาง รูปากเป่าหากรอยบาก ไม่อยู่ตรงการก็ต้องขันน็อตที่หัวด้านปลายสุด แล้วดึงขึ้นลงปรับให้ตรงกับตำแหน่งตรงกลางพอดี เมื่อปรับ Sound Board ได้แล้ว การเทียบเสียง ให้ได้ระดับเสียง ที่ต้องการก็เพียงแต่ ปรับส่วนหัว ของเครื่อง เข้าออก จากตัวเครื่อง
การดูแลรักษาภายใน
ภายหลังจากการใช้เครื่อง ทุกครั้ง ควรปฏิบัติตามขั้นตอน ต่อไปนี้
1. นำผ้าสาลู ( Palishing Gaure ) สอดเข้ากับเหล็ก สอดทำความสะอาด ( Cleaning Rod ) สอดเข้ากับเหล็กทำความสะอาด (Cleaning Rod )
2. ค่อย ไ สอดเหล็กที่หุ้มด้วยผ้า เข้าไปในตัวเครื่อง เพื่อเช็ดทำความสะอาด น้ำลายและสิ่งสกปรก ที่ติดอยู่ภายใน
3. สำหรับ Piccolo ที่ทำด้วยไม้ วีการดูแลรักษาเครื่อง เหมือนกับการดูแลรักษา Clarinet
เพื่อยืด อายุการใช้งาน ของเครื่องดนตรีควรปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้ ทุกครั้ง ภายหลังจากการใช้เครื่องดนตรี
1. เช็ดทำความสะอาด ตัวเครื่องภายนอก ด้วยผ้า Palishing Clath โดย อาจจะชุบน้ำยา lacquer Palish สักเล็กน้อย เช็ดบริเวณที่สกปรกมาก สำหรับเครื่องที่เคลือบด้วยแลคเกอร์พิเศษ ห้ามใช้น้ำยา เช็ดนิเกิล (Metal Polish ) เพราะจะทำให้แลคเกอร์ที่เคลือบอยู่หลุดออกได้ ส่วนเครื่องที่ชุบด้วยเงินให้ใช้น้ำยาขัดเงิน ( Silver Polish ) แทน
2. การใช้น้ำยาขัดเครื่อง ควรกระทำเฉพาะบริเวณที่ตังเครื่องเท่านั้น การทำความสะอาด กระเดื่องนั้นควรนำผ้า มาพับเป็นแถบเล็ก แล้วสอดเข้ากับ ร่องต่าง ๆ ของกระเดื่อง เช็ดเพียงเบา ๆ หากเป็นซอก ที่ผ้าเข้าไปไม่ถึงก็ให้ใช้ลอดสักหลอด (Tone Hole Cleaner)
ระบบนิ้วในการจับฟลุ้ต
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
การเทียบเสียง อะไรครับ
ตอบลบLh4ใว้ทำอะไรครับ
ตอบลบ