วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

แซ็กโซโฟน

เครื่องดนตรีประเภทแซ็กโซโฟน

แซกโซโฟน (Saxophone)
แซกโซโฟนเป็นเครื่องดนตรีพันธ์ผสมระหว่างเครื่องเครื่องลมไม้กับเครื่องทองเหลือง ซึ่งประดิษฐ์ขึ้น พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) ณ เมืองบรูซเซลส์ นครปารีส โดยนายอดอล์ฟ แซกซ์ (Adolphe Sax พ.ศ. 2357 - 2437) นักประดิษฐ์ชาวเบลเยี่ยม แซกโซโฟนเป็นเครื่องดนตรีลิ้นเดี่ยวเช่นเดียวกับปี่คลาริเน็ต ลำตัวเป็นท่อกลวง การจัดคีย์ก็คล้ายคลึงกับโอโบ แต่ Mouthpiece มีลักษณะคล้ายกับปี่คลาริเน็ต แม้ว่าลำตัวทำด้วยโลหะทองเหลือง แต่สุ้มเสียงจะกระเดียดมาทางเครื่องลมไม้มาก เมื่อแซกโซโฟนประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ๆ ก็นำไปใช้ในวงโยธวาทิตของฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อดนตรีแจ๊ส (Jazz) ซึ่งแต่เดิมมีคลาริเน็ตคอร์เน็ต และทรอมโบนเป็นเครื่องดนตรี ได้มีพัฒนาการขึ้นก็นำเอาแซกโซโฟนเข้าไปใช้ จนในที่สุดเครื่องดนตรีชนิดนี้ก็ขาดไม่ได้ในวงดนตรีแจ๊ส

อดอล์ฟ แซก(Adolphe Sax)เป็นชาวเบลเยียมเกิดที่เมืองดินานท์ (Dinant) เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1814 บิดาชื่อ ชาร์ล โจเซฟ แซก (Charles Foseph Sax) เป็นนักดนตรีเป่าฟลุตและคลาริเน็ต นอกจากนี้แล้วบิดาของเขายังมีโรงงานประดิษฐ์เครื่องดนตรี โดยเฉพาะเครื่องลมไม้และเครื่องทองเหลืองอยู่ที่เมืองดินานท์อีกด้วย ประมาณปี ค.ศ. 1815 บิดาเขาได้ย้ายโรงงานไปอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์
ชนิดของแซกโซโฟน

ตระกูลแซกโซโฟนเป็นตระกูลใหญ่เช่นเดียวกับคลาริเนท แซกโซโฟนมีขนาดต่าง ๆ ถึง 7 ขนาดด้วยกัน แต่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 4 ชนิดด้วยกัน หลากหลายชนิดของแซกโซโฟน. (2546 : 78) ได้กล่าวเกี่ยวกับชนิดของแซกโซโฟนไว้ว่าแซกโซโฟนในปัจจุบันประกอบด้วยแซกโซโฟนโซปราโน, แซกโซโฟนอัลโต้, แซกโซโฟนเทเนอร์และบาริโทนแซกโซโฟนในบรรดา 4 ชนิดที่กล่าวมานี้ แซกโซโฟนโซปราโนเป็นแซกโซโฟนที่มีเสียงความถี่เสียงสูงที่สุด ตามด้วยแซกโซโฟนโต้, แซกโซโฟนเทเนอร์และสุดท้ายที่ต่ำคือบาริโทนแซกโซโฟน

1. โซปราโนแซกโซโฟน


เป็นแซกโซโฟนที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบาและมีความถี่สูงที่สุด เนื่องจากมีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาจึงสามารถถือไว้ในมือได้ง่ายโดยไม่จำเป็นต้องใช้สายสะพายแซกโซโฟนก็ดี อย่างไรก็ตามแซกโซโฟนโซปราโนไม่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ต้องการหัดเล่นแซกโซโฟน เนื่องจากมีความยากในการเป่ามากกว่าแซกโซโฟนอัลโต้และเทเนอร์ ในปัจจุบันแซกโซโฟนโซปราโนจะมีรูปทรงให้เลือก 2 แบบ คือแบบตรง และแบบโค้งก็จะมีลักษณะเหมือกับแซกโซโฟนอัลโต้แต่มีขนาดเล็กกว่า

2. อัลโต้แซกโซโฟน



เป็นแซกโซโฟนที่ดีที่สุดสำหรับผู้เริ่มต้น เนื่องจากเป็นแซกโซโฟนที่เป่าง่ายกว่าโซปราแซกโซโฟนและมีน้ำหนักเบากว่าแซกโซโฟนเทเนอร์แซกโซโฟนอัลโต้สามารถเป่าได้ในดนตรีหลาย ๆ สไตล์ไม่ว่าจะเป็นสไตล์คลาสสิก, ป็อป, แจ็ส แต่นักดนตรีคลาสสิกจะนิยมใช้แซกอัลโต้ในการเล่นมากกว่าการใช้แซกโซโฟนชนิดอื่นๆรวมถึงการเล่นดนตรีแบบแตรวง,คอนเสิร์ตหรือมาร์ชชิ่งแบรนด์ก็เช่นกัน แซกโซโฟนอัลโต้จึงเป็นแซกโซโฟนที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

3. เทเนอร์แซกโซโฟน



เป็นแซกโซโฟนที่ถูกใช้มากในการเล่นดนตรีแนวแจ็ส แต่ก็สามารถเห็นแซกโซโฟนเทเนอร์ได้ในการเล่นดนตรีแบบอื่น ๆ เช่นกันเสียงของแซกเทเนอร์จะมีลักษณะแบบนุ่ม ๆ อ้วน ๆ และต่ำกว่าแซกโซโฟนอัลโต้และแซกโซโฟนโซปราโน รองจากแซกโซโฟนอัลโต้แล้วแซกโซโฟนเทเนอร์ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่มือใหม่ควรจะใช้ในการเริ่มต้น

4. บาริโทนแซกโซโฟน



5. เบสเเซกโซโฟน

ส่วนประกอบของแซ็กโซโฟน

ส่วนที่ 1 Mouthpiece ซึ่งส่วนของเม้าจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน

1. ที่รัดลิ้น จะทำหน้าที่รัดลิ้นเข้ากับตัว Mouthpiece เพื่อให้เกิดการสั่นเทือนกับตัวเม้าและเกิดเสียงขึ้น
2. ลิ้น ลิ้นทำด้วยวัสดุไม้ไผ่ส่วนปลายตัดเป็นรูปโค้งมนส่วนทางโคนจะแข็ง สำหรับไม้เพื่อรัดลิ้นให้เข้ากับตัว Mouthpiece
3. Mouthpiece มีทั้งที่ทำจากพลาสติกและโลหะซึ่งจะมีผลในเรื่องของเสียงโดยปากโลหะจะให้เสียงที่ดังกังวานแต่ไม่อ่อนหวาน ส่วนที่ทำจากพลาสติกมีความนุ่มนวลกว่าแต่เสียงจะไม่กระด้างและส่วนจะทำให้เสียงที่กระด้างและไม่กระด้างก็ขึ้นอยู่กับการฝึกซ้อมและฝึกซ้อม

ส่วนที่ 2 Neck หรือคอแซกโซโฟน ส่วนของคอ
ส่วนนี้จะสามารถถอดได้เช่นเดียวกับเม้า ใช้ประกอบเข้ากับตัวเครื่องเพื่อจะเป็นส่วนโค้งของแซกโซโฟนและเป็นที่ประกอบเสียบเม้า และจะมีกระเดื่องซึ่งเป็นตัวปิดเปิดรูในการเปลี่ยนเสียง

ส่วนที่ 3 Body ตัวเครื่อง
ก็คือส่วนประกอบหลักของเครื่องดนตรี คือจะมีส่วนประกอบมากมายในตัวเครื่องซึ่งผู้ฝึกหัดต้องให้ความสำคัญกับรายละเอียดของตัวเครื่องให้มาก เนื่องจะต้องสัมผัสกับตัวเครื่องตลอดเวลาขณะเป่าและจะเป็นที่ไว้สำหรับจับและกำเนิดเสียงและตัวโน้ตต่าง ๆ

การดูแลรักษา Saxophone


1. ปากเป่า 2. ที่รัดปากเป่า 3. กระเดื่อง 4. รูเสียง
5. ปากแตร 6. คอปากเป่า 7. Octave Key 8. น็อตยึดคอปากเป่า
9. Roller 10. Key Guard 11. Bow 12. ตัวเครื่อง 13. Upper Bow 14. ท่อแยก

วิธีการประกอบเครื่อง

1.ถอด หรือ แกะไม้ก๊อก ที่ติดอยู่กับ เครื่อง เพื่อป้องกัน กระเดื่อง ในขณะ ขนส่งออกให้หมด
2.ประกอบคอปากเป่า เข้ากับตัวเครื่อง ตามรูป แล้ว ขันน็อต ยึด คอปากเป่า ให้แน่น อาจจะทำ Slide Grease บาง ๆ ที่ คอปากเป่า ด้วยก็ได้
3.ประกอบลิ้น เข้ากับ ปากเป่า โดยให้ ปากเป่า เหลื่อมออกมา เล็กน้อย ตามรูป
4.ประกอบ ปากเป่า เข้ากับ คอปากเป่า โดย ทาขี้ผึ้ง Cork grease ที่ ปลาย คอปากเป่า เล็กน้อย แล้ว ค่อย ๆ หมุน ปากเป่า สวมเข้าไป ตามรูป
5.ขอเกี่ยว นิ้วโป้ง สามารถปรับได้ เพียงใช้ เหรียญหมุน คลายสกรูยึด แล้ว ปรับ ให้พอดี ตามต้องการ ตามรูป


การเทียบเสียง

การเทียบเสียง ให้ได้ระดับเสียง (Pitch) ที่ต้องการ สามารถทำได้ โดย ให้ผู้เล่น ปรับที่ปากเป่า, อุณหภูมิ ก็มีผล ต่อการเทียบเสียง ด้วยเหมือนกัน ดังนั้น ก่อนที่ จะทำ การเทียบเสียง ขอแนะนำให้ทำ การอบอุ่นเครื่อง ด้วยการเป่าลมเข้าไป ในเครื่องสักพัก ถ้าอุณหภูมิขณะที่เล่นต่ำ (เย็น) ให้ปรับปากเป่า เข้าไปให้ลึกกว่าปกติ แต่ ถ้าอุณหภูมิสูง (ร้อน) ก็ให้ ปรับ ปากเป่าออกมา เล็กน้อย

การดูแลรักษาภายใน


ภายหลังจากการใช้เครื่องทุกครั้ง ควรปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้ เพื่อ ยืดอายุ การใช้งาน ของเครื่อง
1. เช็ดทำความสะอาดปากเป่า และ คอปากเป่า ด้วย ผ้าหยอด ทำความสะอาด(Cleaning Swab) ตามรูป สำหรับ Baritone Saxophone ให้ปล่อย น้ำลาย ที่คอปากเป่า ออกให้หมด
2. ใช้อุปกรณ์ จาก ชุด ทำความสะอาด Saxophone ทำความสะอาด ภายใน ตามรูป
3. อย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง ควรทำ ความสะอาด คอปากเป่า ตามขั้นตอนต่อไปนี้
3.1 ผสมน้ำสบู่ (Brass Soap) กับน้ำอุ่น ( 30 - 40 C) ในอัตราส่วน น้ำสบู่ 1 ส่วนต่อน้ำอุ่น 10-15 ส่วน
3.2 ปิดรูเสียงที่คอปากเป่า เพื่อไม่ให้ น้ำไหลออกทางรู
3.3 ใช้แส้ล้างแตรจุ่มน้ำสบู่ ทำความสะอาด ภายใน คอปากเป่า ให้ทั่ว
3.4 ล้างน้ำสบู่และคราบสกปรก ออกให้หมด ด้วยน้ำสะอาด
3.5 เช็ดคอปากเป่าให้แห้ง ด้วยผ้า หยอดทำความสะอาด (Cleaning Swab)


การดูแลรักษาภายนอก

เพื่อยืด อายุการใช้งาน ของเครื่อง ควรปฏิบัติตาม ขั้นตอน ต่อไปนี้ทุกครั้งภายหลังจากการใช้เครื่อง

1. เช็ดทำความสะอาด ตัวเครื่องภายนอก ด้วยผ้า Polishing Cloth โดย อาจจะชุบด้วยน้ำยา Lacquer Polish สักเล็กน้อย เช็ด บริเวณที่ สกปรกมาก สำหรับ เครื่องที่ เคลือบ ด้วย แลคเกอร์พิเศษ ห้ามใช้น้ำยา เช็ดนิเกิล (Metal Polish) เพราะ จะทำให้ แลคเกอร์ ที่เคลือบอยู่ หลุดออกได้ ส่วนเครื่อง ที่ชุบด้วยเงิน ให้ใช้น้ำยาขัดเงิน (Silver Polish) แทน
2. การ ใช้น้ำยาขัดเครื่อง ควร กระทำเฉพาะ บริเวณ ที่เป็น ตัวเครื่องเท่านั้น การทำความสะอาด กระเดื่องนั้น ควรนำผ้า มาพับเป็น แถบเล็ก แล้ว สอดเข้ากับ ร่องต่างๆ ของกระเดื่อง เช็ดเพียงเบา ๆ หากเป็นซอก ที่ผ้าเข้าไม่ถึง ก็ให้ใช้ ลวดสักหลาด (Tone hole cleaner) ทำความสะอาด ตามรูป



การดูแลรักษานวม
น้ำ และของเหลว ทุกชนิด เป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ ต่อนวม จึงห้ามนำ เครื่องไป ล้างน้ำ หรือโดนฝน และ ภายหลัง การใช้เครื่อง ทุกครั้ง จะต้อง ซับความชื้น ออกจากนวม ด้วยกระดาษซับนวม (Cleaning Paper) ตามรูป โดย สอดกระดาษ ซับนวม เข้าไป ระหว่าง รูเสียง กับนวม แล้วกดแป้น หรือ กระเดื่อง ของนวมนั้นหลาย ๆ ครั้ง จนนวมแห้ง รูเสียงของ Octave Key ก็ มีความสำคัญ ไม่น้อย เมื่อ มีฝุ่น หรือ คราบสกปรก เกาะติดมากๆ อาจจะทำให้ เสียง ที่ เป่าออกมา เพี้ยน ไม่สมบูรณ์ ควรทำ ความสะอาด ด้วย ลวดสักหลาด (Tone hole cleaner) และ กระดาษซับนวม เป็นประจำ

หลักการฝึกซ้อม
หลักการฝึกซ้อมที่ดี

1. ซ้อมจนกว่าจะถูกต้องทั้งหมด คือ เล่น 10 รอบ ก็ควรจะถูกทั้ง 10 รอบ ไม่ใช่ถูกบ้างผิดบ้าง อย่าลืมว่าเมื่อเราแสดงจริงๆเรามีโอกาสเพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น
2. ใส่ใจในทุกๆรายละเอียด ไม่เน้นจำนวนรอบที่ซ้อม และไม่เกิดประโยชน์อะไรเลยถ้าการซ้อมที่มากรอบนั้นไม่ถูกต้องเลย
3. ศึกษาstyleและตีความบทเพลงหรือแบบฝึกหัดที่กำลังฝึกซ้อมอยู่ เช่น รูปแบบของบทเพลงในยุคนั้น, เอกลักษณ์เฉพาะตัวของคีตกวี เป็นต้น
4. ลองซ้อมแบบไม่มีเครื่องดนตรีดู แต่เล่นให้เหมือนกับเวลาที่เรามีเครื่องดนตรีอยู่ด้วย เพื่อฝึกจินตนาการของผู้เล่น ลองดูสิแล้วอย่าคิดว่าง่ายนะ
5. สำคัญสุดๆเลยคือ ทุกครั้งที่ซ้อมเราต้องตั้งเป้าไว้ด้วย คิดไว้เลยว่าอยากได้อะไรจากการซ้อมในครั้งนั้นแล้วลุยเลยต้องทำให้ได้อย่าซ้อมไปวันๆใส่ใจไว้เลยว่าการซ้อมเพียง1-2 ชั่วโมงอย่างมีเป้าหมาย มีสมาธิ และซ้อมอย่างถูกต้อง

ระบบการวางนิ้วในเครื่องดนตรีแซ็กโซโฟน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น