วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

คลาริเน็ต


คลาริเน็ต เป็นเครื่องดนตรีจำพวกเครื่องเป่าลมไม้(woodwind instruments) ที่พัฒนามาจากเครื่องดนตรีในสมัยกลางเรียกว่า chalumeau คลาริเน็ตเป็นเครื่องดนตรีที่มักทำจากไม้หรือพลาสติก ทำให้เกิดเสียงโดยใช้ลิ้นเดี่ยว (single reed) ซึ่งรัดติดกับปากเป่าเช่นเดียวกับแซกโซโฟน. ช่วงเสียงคลาริเน็ต (Bb) เริ่มตั้งแต่ D (เขียนว่า E แต่เล่นแล้วออกเสียง D เนื่องจากเป็นคลาริเน็ตบีแฟลต มีเสียงต่ำกว่าที่เขียนไว้ 1 tone) เรื่อยขึ้นไปประมาณ 3 ½ คู่แปด

ประวัติ
คลาริเนต (Clarinet) คลาริเน็ต เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้ ที่พัฒนามาจากเครื่องดนตรีในสมัยกลางเรียกว่า Chalumeau คลาริเน็ตเป็นเครื่องดนตรีที่มักทำจากไม้หรือพลาสติก ทำให้เกิดเสียงโดยใช้ลิ้นเดี่ยว (single reed) ซึ่งรัดติดกับปากเป่าเช่นเดียวกับแซกโซโฟน ช่วงเสียงคลาริเน็ต (Bb) เริ่มตั้งแต่ D (เขียนว่า E แต่เล่นแล้วออกเสียง D เนื่องจากเป็นคลาริเน็ตบีแฟลต มีเสียงต่ำกว่าที่เขียนไว้ 1 tone) เรื่อยขึ้นไปประมาณ 3 ½ คู่แปด ประวัติ ประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ยามนั้นมีเครื่องเป่าหนึ่งชื่อว่า Memet ทำจากไม้ แล้วเหลาที่ปลายลำตัวเครื่องให้เป็นลิ้น ต่อมาราว 2,000 ปีที่แล้ว มีเครื่องดนตรีชื่อ ชาลูโม - Chalumeau เกิดขึ้น บรรเลงเรื่อยมาอีกเป็นพันปี ชาลูโม (Chalumeau) เป็นคำแสลง ภาษาฝรั่งเศส แปลว่า ประกายไฟ ไฟที่กำลังปะทุ (Firecracker) แต่ เมื่อมาเป็นชื่อเครื่องดนตรี ดังนั้น เวลาทำให้เป็นพหูพจน์ ต้องเปลี่ยนรูป เป็น ชาลูโมซ์ (Chalumeaux) ชาลูโม เป็นเครื่องดนตรีประเภทปี่ลิ้นเดี่ยว (Single Reed) ถือกำเนิดขึ้นในยุคกลาง ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12 และได้รับความนิยมมาจนถึงช่วงกลางยุคบาโร้ค เป็นบรรพบุรุษโดยตรงของ คลาริเน็ต (Clarinet) จนกระทั่งในยุคคลาสสิค คลาริเน็ต จึงมีบทบาทเข้ามาแทนที่ชาลูโม และรีคอร์เดอร์ ไปจนหมดสิ้น ชาลูโม (Chalumeau) กระทั่งช่วง ค.ศ.1690 นายเดนเนอร์ แห่งเมืองนูเรมเบิร์ก เยอรมนี ได้ดัดแปลงแล้วเรียกชื่อเป็น คลาริเน็ จากนั้นก็มีผู้พัฒนาการต่อมาเรื่อยๆ และเริ่มใช้กันอย่างแพร่หลายในวงออร์เคสตราเมื่อปี ค.ศ. 1780 (คลาริเน็ตเป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีโปรดของโมซาร์ท) และแทนที่โอโบในวงโยธวาทิตได้ในที่สุด ช่วง ค.ศ.1800 คลาริเน็ตมีคีย์เพิ่มเป็น 5-6 คีย์ ค.ศ.1812 ไอวาน มุลเลอร์ ได้ประดิษฐ์เป็น 13 คีย์ เพื่อให้เล่นเพลงได้หลากหลายขึ้น และเป็นผู้ที่หันลิ้นมาไว้ด้านล่างของปากเป่าแบบปัจจุบัน ต่อมา ค.ศ.1843 โกลส และ บัฟเฟต์ ครูสอนคลาริเนตในปารีสได้เอาระบบ Boehm ของฟลุตมาใช้กับคลาริเน็ต ตามด้วยการเพิ่มคีย์อีก 5 - 6 คีย์ โดย คาร์ล บาร์มานน์ ในค.ศ.1862 และการออกแบบใหม่ในต้นศตวรรษที่ 20 ค.ศ.1912 โดย โอสการ์ โอห์เบอร์ คำ Clarinet มาจากภาษาอิตาเลียน คลาริน่า-Clarina แปลว่า แตร ใส่คำวิเศษตามหลัง คือ - et แปลว่าเล็กๆ รวมเป็น คลาริเน็ต แปลว่า แตรอันเล็กๆ คลาริเน็ตเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้ ทรงกระบอกตรง ลำโพงบานออก และมีที่เป่าเป็นลิ้นเดี่ยว เล่นโดยใช้นิ้วปิดเปิดรูและกดคีย์ต่างๆ เกิดเสียงโดยการเป่าลมผ่านช่องแคบๆ ให้เข้าไปภายในท่อซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวขยายเสียงให้ดังขึ้น ลักษณะของเสียงที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันตามขนาดของท่อ ความสั้นยาวของท่อ และความแรงของลมที่เป่าเข้าไปภายในท่อ ลำตัวปี่คลาริเน็ตทำด้วยโลหะและไม้ หรือบางครั้งก็ทำด้วยยางหรือพลาสติก ลำตัวปี่กลวง เปลี่ยนระดับเสียงโดยใช้นิ้วและคีย์โลหะบุนวมปิดเปิดรูปี่ คลาริเน็ตมีรูปร่างคล้ายกับปี่โอโบ แตกต่างกันที่ปากเป่า (กำพวด) คุณภาพเสียงมีช่วงเสียงกว้างและทุ้มลึก มีนิ้วพิเศษที่ทำเสียงได้สูงมากเป็นพิเศษ

ชนิดของคลาริเน็ต

อีแฟลตคลาริเน็ต (โซปรานิโน)

อัลโตคลาริน็ต

เบสคลาริเน็ต

ส่วนประกอบคลาริเน็ต

วิธีการประกอบเครื่องดนตรีคลาริเน็ต
Eb Clarinet
1. ทาขี้ผึ้งสำหรับไม้ก๊อก ( Cark Grease ) บริเวณข้อต่อส่วนที่เป็นไม้ก๊อกตามรูป
2. ประกอบปากแตร และ Barrel เข้ากับตัวเครื่อง
3. ประกอบปากเป่าเข้ากับ Barrel


Bb Clarinet และ A Clarinet
1. ประกอบ Barrel เข้ากับข้อต่อบน และ ปากแตรเข้ากับข้อต่อล่าง
2. ใช้มือซ้ายจับท่อนบน โดยมือขวาจับข้อต่อล่างค่อย ๆ หมุนจนประกอบเข้ากันได้สนิท
3. ประกอบปากเป่าเข้ากับ Barrel
4. ในการประกอบส่วนต่าง ๆ เข้ากันด้วย พยายามหลีกเลี่ยงไม่ใช้แรงกด กระเดื่องมากจนเกินไป


Auto Clarinet และ Bass Clarinet
1. ใช้มือซ้ายจับข้อต่อบน โดยมือขวาจับข้อต่อล่าง ๆ ค่อย ๆ หมุนจนประกอบกันได้สนิท
2. เสร็จแล้วประกอบคอปากเป่า และปากแตรเข้ากับตัวเครื่อง
3. เฉพาะ Bass Clarinet ให้ประกอบคอปากเป่าเข้ากับตัวต่อบน

ขั้นตอนประกอบลิ้นกับปากเป่า
1. ประกอบปากเป่าเข้ากับคอปากเป่า
2. ประกอบลิ้นเข้ากับปากเป่า โดยให้ปากเป่าเหลื่อมออกมาเล็กน้อย ตามรูป ยึดด้วยที่รัดปากเป่าให้แน่น

วิธีการทียบเสียง
เนื่องจากอุณหภูมิมีผลกระทบต่อเสียง ( Picth ) ดังนั้น ก่อนที่จะทำการเทียบเสียงให้อบอุ่นเครื่องด้วยการเป่าลมเข้าไปในเครื่องดนตรีสักพัก แล้วจึงทำการเทียบเสียง


ซึ่งแต่ละเครื่องจะต่างกันดังนี้
1. Eb - Bb - A Clarinet ให้ดึง Barrel ( หมายเลขที่ 2 ออกจากข้อต่อบน ( หมายเลข 3 )
2. Auto Clarinet ให้ดึงคอปากเป่า ( หมายเลข 8 ) ออกจากตัวเครื่อง
3. Bass Clarinet ให้ดึงคอปากเป่าด้านบน

การดูแลรักษาเครื่องดนตรี

ทุกครั้งภายหลังจากการใช้เครื่อง ควรปฏิบัติตาม ขั้นตอนต่อไปนี้
1. ถอดลิ้นออกจากปากเป่า เช็คให้แห้ง เสร็จแล้วเก็บลิ้นเข้ากล่องให้เรียบร้อย
2. เช็คทำความสะอาดปากเป่าให้แห้ง โดยใช้ผ้าหยอดทำความสะอาด ( Cleaning Swab ) สอดเข้าไปทางด้านไม้ก๊อก ตามรูป
3. ถอดชิ้นส่วนต่าง ๆ ออกจากกันเสร็จแล้วทำความสะอาดภายในด้วยการสอดผ้าหยอดทำความสะอาด เจ้าท่อนข้อต่อบน เช็คให้แห้ง โดยเฉพาะบริเวณข้อต่อที่เป็นไม้ก๊อก สำหรับชิ้นส่วนอื่น ๆ ก็ให้ปฏิบัติเหมือนกัน
4. ซับความชื้นออกจากนวม ด้วยการนำกระดาษซับ ( Cleaning Paper ) สอดเข้าระหว่างรูเสียงกับนวม แล้วกดแป้นหรือ กระเดื่องของนวมนั้นหลาย ๆ ครั้งจนนวมแห้ง
5. เช็ดทำความสะอาดภายนอกด้วยผ้า Palishing Cloth แต่ถ้ากระเดื่องสกปรกมากก็ให้ใช้ผ้าชุบน้ำยา Silver Palish ทำความสะอาด แต่ไม่ควรใช้น้ำยาทำความสะอาดเครื่องเงินทำความสะอาดผิวไม้ สำหรับบริเวณที่ผ้าเข้าไม่ถึง และบริเวณรูเสียง ให้ใช้ลวดสักหลาด ( Tone hole Cleaner ) ทำความสะอาด
6. นำผ้าหยอดทำความสะอาดมาชุบน้ำมันรักษาเนื้อไม้ ( Bore Oil ) เพียงเล้กน้อยแล้วสอดเข้าไปในเครื่องหลาบ ๆ ครั้ง ระวังอย่าให้น้ำมันเปื้อนนวม เพราะจะทำให้นวมแห้ง และแข็ง น้ำมันรักษาเนื้อไม้จะป้องกันไม่ให้เกิดการแตกร้าว และบิดเบี้ยวได้


วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

แซ็กโซโฟน

เครื่องดนตรีประเภทแซ็กโซโฟน

แซกโซโฟน (Saxophone)
แซกโซโฟนเป็นเครื่องดนตรีพันธ์ผสมระหว่างเครื่องเครื่องลมไม้กับเครื่องทองเหลือง ซึ่งประดิษฐ์ขึ้น พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) ณ เมืองบรูซเซลส์ นครปารีส โดยนายอดอล์ฟ แซกซ์ (Adolphe Sax พ.ศ. 2357 - 2437) นักประดิษฐ์ชาวเบลเยี่ยม แซกโซโฟนเป็นเครื่องดนตรีลิ้นเดี่ยวเช่นเดียวกับปี่คลาริเน็ต ลำตัวเป็นท่อกลวง การจัดคีย์ก็คล้ายคลึงกับโอโบ แต่ Mouthpiece มีลักษณะคล้ายกับปี่คลาริเน็ต แม้ว่าลำตัวทำด้วยโลหะทองเหลือง แต่สุ้มเสียงจะกระเดียดมาทางเครื่องลมไม้มาก เมื่อแซกโซโฟนประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ๆ ก็นำไปใช้ในวงโยธวาทิตของฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อดนตรีแจ๊ส (Jazz) ซึ่งแต่เดิมมีคลาริเน็ตคอร์เน็ต และทรอมโบนเป็นเครื่องดนตรี ได้มีพัฒนาการขึ้นก็นำเอาแซกโซโฟนเข้าไปใช้ จนในที่สุดเครื่องดนตรีชนิดนี้ก็ขาดไม่ได้ในวงดนตรีแจ๊ส

อดอล์ฟ แซก(Adolphe Sax)เป็นชาวเบลเยียมเกิดที่เมืองดินานท์ (Dinant) เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1814 บิดาชื่อ ชาร์ล โจเซฟ แซก (Charles Foseph Sax) เป็นนักดนตรีเป่าฟลุตและคลาริเน็ต นอกจากนี้แล้วบิดาของเขายังมีโรงงานประดิษฐ์เครื่องดนตรี โดยเฉพาะเครื่องลมไม้และเครื่องทองเหลืองอยู่ที่เมืองดินานท์อีกด้วย ประมาณปี ค.ศ. 1815 บิดาเขาได้ย้ายโรงงานไปอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์
ชนิดของแซกโซโฟน

ตระกูลแซกโซโฟนเป็นตระกูลใหญ่เช่นเดียวกับคลาริเนท แซกโซโฟนมีขนาดต่าง ๆ ถึง 7 ขนาดด้วยกัน แต่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 4 ชนิดด้วยกัน หลากหลายชนิดของแซกโซโฟน. (2546 : 78) ได้กล่าวเกี่ยวกับชนิดของแซกโซโฟนไว้ว่าแซกโซโฟนในปัจจุบันประกอบด้วยแซกโซโฟนโซปราโน, แซกโซโฟนอัลโต้, แซกโซโฟนเทเนอร์และบาริโทนแซกโซโฟนในบรรดา 4 ชนิดที่กล่าวมานี้ แซกโซโฟนโซปราโนเป็นแซกโซโฟนที่มีเสียงความถี่เสียงสูงที่สุด ตามด้วยแซกโซโฟนโต้, แซกโซโฟนเทเนอร์และสุดท้ายที่ต่ำคือบาริโทนแซกโซโฟน

1. โซปราโนแซกโซโฟน


เป็นแซกโซโฟนที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบาและมีความถี่สูงที่สุด เนื่องจากมีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาจึงสามารถถือไว้ในมือได้ง่ายโดยไม่จำเป็นต้องใช้สายสะพายแซกโซโฟนก็ดี อย่างไรก็ตามแซกโซโฟนโซปราโนไม่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ต้องการหัดเล่นแซกโซโฟน เนื่องจากมีความยากในการเป่ามากกว่าแซกโซโฟนอัลโต้และเทเนอร์ ในปัจจุบันแซกโซโฟนโซปราโนจะมีรูปทรงให้เลือก 2 แบบ คือแบบตรง และแบบโค้งก็จะมีลักษณะเหมือกับแซกโซโฟนอัลโต้แต่มีขนาดเล็กกว่า

2. อัลโต้แซกโซโฟน



เป็นแซกโซโฟนที่ดีที่สุดสำหรับผู้เริ่มต้น เนื่องจากเป็นแซกโซโฟนที่เป่าง่ายกว่าโซปราแซกโซโฟนและมีน้ำหนักเบากว่าแซกโซโฟนเทเนอร์แซกโซโฟนอัลโต้สามารถเป่าได้ในดนตรีหลาย ๆ สไตล์ไม่ว่าจะเป็นสไตล์คลาสสิก, ป็อป, แจ็ส แต่นักดนตรีคลาสสิกจะนิยมใช้แซกอัลโต้ในการเล่นมากกว่าการใช้แซกโซโฟนชนิดอื่นๆรวมถึงการเล่นดนตรีแบบแตรวง,คอนเสิร์ตหรือมาร์ชชิ่งแบรนด์ก็เช่นกัน แซกโซโฟนอัลโต้จึงเป็นแซกโซโฟนที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

3. เทเนอร์แซกโซโฟน



เป็นแซกโซโฟนที่ถูกใช้มากในการเล่นดนตรีแนวแจ็ส แต่ก็สามารถเห็นแซกโซโฟนเทเนอร์ได้ในการเล่นดนตรีแบบอื่น ๆ เช่นกันเสียงของแซกเทเนอร์จะมีลักษณะแบบนุ่ม ๆ อ้วน ๆ และต่ำกว่าแซกโซโฟนอัลโต้และแซกโซโฟนโซปราโน รองจากแซกโซโฟนอัลโต้แล้วแซกโซโฟนเทเนอร์ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่มือใหม่ควรจะใช้ในการเริ่มต้น

4. บาริโทนแซกโซโฟน



5. เบสเเซกโซโฟน

ส่วนประกอบของแซ็กโซโฟน

ส่วนที่ 1 Mouthpiece ซึ่งส่วนของเม้าจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน

1. ที่รัดลิ้น จะทำหน้าที่รัดลิ้นเข้ากับตัว Mouthpiece เพื่อให้เกิดการสั่นเทือนกับตัวเม้าและเกิดเสียงขึ้น
2. ลิ้น ลิ้นทำด้วยวัสดุไม้ไผ่ส่วนปลายตัดเป็นรูปโค้งมนส่วนทางโคนจะแข็ง สำหรับไม้เพื่อรัดลิ้นให้เข้ากับตัว Mouthpiece
3. Mouthpiece มีทั้งที่ทำจากพลาสติกและโลหะซึ่งจะมีผลในเรื่องของเสียงโดยปากโลหะจะให้เสียงที่ดังกังวานแต่ไม่อ่อนหวาน ส่วนที่ทำจากพลาสติกมีความนุ่มนวลกว่าแต่เสียงจะไม่กระด้างและส่วนจะทำให้เสียงที่กระด้างและไม่กระด้างก็ขึ้นอยู่กับการฝึกซ้อมและฝึกซ้อม

ส่วนที่ 2 Neck หรือคอแซกโซโฟน ส่วนของคอ
ส่วนนี้จะสามารถถอดได้เช่นเดียวกับเม้า ใช้ประกอบเข้ากับตัวเครื่องเพื่อจะเป็นส่วนโค้งของแซกโซโฟนและเป็นที่ประกอบเสียบเม้า และจะมีกระเดื่องซึ่งเป็นตัวปิดเปิดรูในการเปลี่ยนเสียง

ส่วนที่ 3 Body ตัวเครื่อง
ก็คือส่วนประกอบหลักของเครื่องดนตรี คือจะมีส่วนประกอบมากมายในตัวเครื่องซึ่งผู้ฝึกหัดต้องให้ความสำคัญกับรายละเอียดของตัวเครื่องให้มาก เนื่องจะต้องสัมผัสกับตัวเครื่องตลอดเวลาขณะเป่าและจะเป็นที่ไว้สำหรับจับและกำเนิดเสียงและตัวโน้ตต่าง ๆ

การดูแลรักษา Saxophone


1. ปากเป่า 2. ที่รัดปากเป่า 3. กระเดื่อง 4. รูเสียง
5. ปากแตร 6. คอปากเป่า 7. Octave Key 8. น็อตยึดคอปากเป่า
9. Roller 10. Key Guard 11. Bow 12. ตัวเครื่อง 13. Upper Bow 14. ท่อแยก

วิธีการประกอบเครื่อง

1.ถอด หรือ แกะไม้ก๊อก ที่ติดอยู่กับ เครื่อง เพื่อป้องกัน กระเดื่อง ในขณะ ขนส่งออกให้หมด
2.ประกอบคอปากเป่า เข้ากับตัวเครื่อง ตามรูป แล้ว ขันน็อต ยึด คอปากเป่า ให้แน่น อาจจะทำ Slide Grease บาง ๆ ที่ คอปากเป่า ด้วยก็ได้
3.ประกอบลิ้น เข้ากับ ปากเป่า โดยให้ ปากเป่า เหลื่อมออกมา เล็กน้อย ตามรูป
4.ประกอบ ปากเป่า เข้ากับ คอปากเป่า โดย ทาขี้ผึ้ง Cork grease ที่ ปลาย คอปากเป่า เล็กน้อย แล้ว ค่อย ๆ หมุน ปากเป่า สวมเข้าไป ตามรูป
5.ขอเกี่ยว นิ้วโป้ง สามารถปรับได้ เพียงใช้ เหรียญหมุน คลายสกรูยึด แล้ว ปรับ ให้พอดี ตามต้องการ ตามรูป


การเทียบเสียง

การเทียบเสียง ให้ได้ระดับเสียง (Pitch) ที่ต้องการ สามารถทำได้ โดย ให้ผู้เล่น ปรับที่ปากเป่า, อุณหภูมิ ก็มีผล ต่อการเทียบเสียง ด้วยเหมือนกัน ดังนั้น ก่อนที่ จะทำ การเทียบเสียง ขอแนะนำให้ทำ การอบอุ่นเครื่อง ด้วยการเป่าลมเข้าไป ในเครื่องสักพัก ถ้าอุณหภูมิขณะที่เล่นต่ำ (เย็น) ให้ปรับปากเป่า เข้าไปให้ลึกกว่าปกติ แต่ ถ้าอุณหภูมิสูง (ร้อน) ก็ให้ ปรับ ปากเป่าออกมา เล็กน้อย

การดูแลรักษาภายใน


ภายหลังจากการใช้เครื่องทุกครั้ง ควรปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้ เพื่อ ยืดอายุ การใช้งาน ของเครื่อง
1. เช็ดทำความสะอาดปากเป่า และ คอปากเป่า ด้วย ผ้าหยอด ทำความสะอาด(Cleaning Swab) ตามรูป สำหรับ Baritone Saxophone ให้ปล่อย น้ำลาย ที่คอปากเป่า ออกให้หมด
2. ใช้อุปกรณ์ จาก ชุด ทำความสะอาด Saxophone ทำความสะอาด ภายใน ตามรูป
3. อย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง ควรทำ ความสะอาด คอปากเป่า ตามขั้นตอนต่อไปนี้
3.1 ผสมน้ำสบู่ (Brass Soap) กับน้ำอุ่น ( 30 - 40 C) ในอัตราส่วน น้ำสบู่ 1 ส่วนต่อน้ำอุ่น 10-15 ส่วน
3.2 ปิดรูเสียงที่คอปากเป่า เพื่อไม่ให้ น้ำไหลออกทางรู
3.3 ใช้แส้ล้างแตรจุ่มน้ำสบู่ ทำความสะอาด ภายใน คอปากเป่า ให้ทั่ว
3.4 ล้างน้ำสบู่และคราบสกปรก ออกให้หมด ด้วยน้ำสะอาด
3.5 เช็ดคอปากเป่าให้แห้ง ด้วยผ้า หยอดทำความสะอาด (Cleaning Swab)


การดูแลรักษาภายนอก

เพื่อยืด อายุการใช้งาน ของเครื่อง ควรปฏิบัติตาม ขั้นตอน ต่อไปนี้ทุกครั้งภายหลังจากการใช้เครื่อง

1. เช็ดทำความสะอาด ตัวเครื่องภายนอก ด้วยผ้า Polishing Cloth โดย อาจจะชุบด้วยน้ำยา Lacquer Polish สักเล็กน้อย เช็ด บริเวณที่ สกปรกมาก สำหรับ เครื่องที่ เคลือบ ด้วย แลคเกอร์พิเศษ ห้ามใช้น้ำยา เช็ดนิเกิล (Metal Polish) เพราะ จะทำให้ แลคเกอร์ ที่เคลือบอยู่ หลุดออกได้ ส่วนเครื่อง ที่ชุบด้วยเงิน ให้ใช้น้ำยาขัดเงิน (Silver Polish) แทน
2. การ ใช้น้ำยาขัดเครื่อง ควร กระทำเฉพาะ บริเวณ ที่เป็น ตัวเครื่องเท่านั้น การทำความสะอาด กระเดื่องนั้น ควรนำผ้า มาพับเป็น แถบเล็ก แล้ว สอดเข้ากับ ร่องต่างๆ ของกระเดื่อง เช็ดเพียงเบา ๆ หากเป็นซอก ที่ผ้าเข้าไม่ถึง ก็ให้ใช้ ลวดสักหลาด (Tone hole cleaner) ทำความสะอาด ตามรูป



การดูแลรักษานวม
น้ำ และของเหลว ทุกชนิด เป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ ต่อนวม จึงห้ามนำ เครื่องไป ล้างน้ำ หรือโดนฝน และ ภายหลัง การใช้เครื่อง ทุกครั้ง จะต้อง ซับความชื้น ออกจากนวม ด้วยกระดาษซับนวม (Cleaning Paper) ตามรูป โดย สอดกระดาษ ซับนวม เข้าไป ระหว่าง รูเสียง กับนวม แล้วกดแป้น หรือ กระเดื่อง ของนวมนั้นหลาย ๆ ครั้ง จนนวมแห้ง รูเสียงของ Octave Key ก็ มีความสำคัญ ไม่น้อย เมื่อ มีฝุ่น หรือ คราบสกปรก เกาะติดมากๆ อาจจะทำให้ เสียง ที่ เป่าออกมา เพี้ยน ไม่สมบูรณ์ ควรทำ ความสะอาด ด้วย ลวดสักหลาด (Tone hole cleaner) และ กระดาษซับนวม เป็นประจำ

หลักการฝึกซ้อม
หลักการฝึกซ้อมที่ดี

1. ซ้อมจนกว่าจะถูกต้องทั้งหมด คือ เล่น 10 รอบ ก็ควรจะถูกทั้ง 10 รอบ ไม่ใช่ถูกบ้างผิดบ้าง อย่าลืมว่าเมื่อเราแสดงจริงๆเรามีโอกาสเพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น
2. ใส่ใจในทุกๆรายละเอียด ไม่เน้นจำนวนรอบที่ซ้อม และไม่เกิดประโยชน์อะไรเลยถ้าการซ้อมที่มากรอบนั้นไม่ถูกต้องเลย
3. ศึกษาstyleและตีความบทเพลงหรือแบบฝึกหัดที่กำลังฝึกซ้อมอยู่ เช่น รูปแบบของบทเพลงในยุคนั้น, เอกลักษณ์เฉพาะตัวของคีตกวี เป็นต้น
4. ลองซ้อมแบบไม่มีเครื่องดนตรีดู แต่เล่นให้เหมือนกับเวลาที่เรามีเครื่องดนตรีอยู่ด้วย เพื่อฝึกจินตนาการของผู้เล่น ลองดูสิแล้วอย่าคิดว่าง่ายนะ
5. สำคัญสุดๆเลยคือ ทุกครั้งที่ซ้อมเราต้องตั้งเป้าไว้ด้วย คิดไว้เลยว่าอยากได้อะไรจากการซ้อมในครั้งนั้นแล้วลุยเลยต้องทำให้ได้อย่าซ้อมไปวันๆใส่ใจไว้เลยว่าการซ้อมเพียง1-2 ชั่วโมงอย่างมีเป้าหมาย มีสมาธิ และซ้อมอย่างถูกต้อง

ระบบการวางนิ้วในเครื่องดนตรีแซ็กโซโฟน


ฟลุ้ต


ลักษณะองค์ประกอบของเครื่องดนตรีในวงโยธวาทิตและมาตรฐานในปัจจุบัน
ลักษณะองค์ประกอบของเครื่องดนตรีในวงโยธวาทิต วงโยธวาทิต ประกอบด้วยเครื่องดนตรี 3 ตระกูล คือ

1. เครื่องลมไม้ (Woodwind Instruments)
2. เครื่องทองเหลือง (Brass Instruments)
3. เครื่องกระทบ (Percussions Instruments)
เครื่องลมไม้ (Woodwind Instruments)
แบ่งออกอย่างกว้างๆได้ 2 ประเภท คือ พวกขลุ่ย และพวกปี่ เครื่องดนตรีเหล่านี้ทำให้เกิดเสียงได้ โดยการเป่าลมผ่านช่องแคบๆเข้าไปในท่อ (pipe) ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวขยายเสียง ส่วนระดับเสียง สูง - ต่ำ จะขึ้นอยู่กับความยาวและขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวขยายเสียงหรือตัวท่อ และความแรงของลมที่เป่าเข้าไปในท่อ พวกขลุ่ยมีลักษณะเหมือนท่อออร์แกนชนิดรู (flue pipe) ส่วนพวกปี่ มีลักษณะเหมือนท่อออร์แกนชนิดลิ้น (reed pipe) รอบๆ ลำตัวของขลุ่ยและปี่จะมีรู เปิด ปิด ด้วยกระเดื่องนิ้ว (Key) รูเหล่านี้ทำหน้าที่เปลี่ยนความยาวของตัวท่ออากาศ (air column) ทำให้เกิดระดับเสียงต่างๆ การที่เรียกเครื่องดนตรีประเภทนี้ว่าเครื่องลมไม้ก็เพราะตัวท่อทำด้วยไม้แต่ในปัจจุบัน แม้ว่าเครื่องดนตรีบางชนิดเปลี่ยนไปทำด้วยโลหะ แต่ก็ยังจัดอยู่ในประเภทเครื่องลมไม้ คือ

1. เครื่องดนตรีประเภทขลุ่ย (Flute Instruments) ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งที่พัฒนาการมาพร้อมกับอารยธรรมของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในสมัยยุคหิน โดยนำกระดูกสัตว์และเขากวางที่เป็นท่อนกลวงหรือไม่ก็ปล้องไม้ไผ่มาเจาะรูแล้วเป่าให้เกิดเสียงต่างๆ ซึ่งต่อมาก็กลายเป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ย ขลุ่ยแบ่งอย่างกว้างๆ ได้ 2 ประเภท ตามลักษณะของการเป่า
ประเภทแรก คือ ขลุ่ยที่เป่าตรงปลาย (end-blown flute)ได้แก่ขลุ่ยไทย ฟลาโจเลท (Keyed flageolet) รีคอร์ดเดอร์ (Recorder) และขลุ่ยญี่ปุ่น (Shakuhachi)
ประเภทที่สอง คือขลุ่ยที่เป่าด้านข้าง (Side-blown flute or transverse flute) ได้แก่ ขลุ่ยอินเดีย ฟลุต (Flute) พิคโคโล (Piccolo) และ ไฟฟ์ (fife) เป็นต้น

ฟลุต (Flute)
เริ่มนำเข้ามาใช้ในวงดนตรีในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นขลุ่ยที่มีแต่รูเปล่าๆ (คล้ายขลุ่ยไทย) เมื่อเล่นขลุ่ยชนิดนี้ผู้เล่นจะใช้นิ้วมืออุดรู ถ้ารูใดห่างหน่อยก็ต้องพยายามเหยียดนิ้วไปอุดให้สนิท ฟลุตโบราณนี้จึงมีเสียงไม่มาก ในราว พ.ศ.2213 (ค.ศ. 1670)ได้มีนักประดิษฐ์ขลุ่ยผู้หนึ่ง ต้องการให้ฟลู้ตเล่นเสียงได้มากขึ้น จึงติดคีย์อันหนึ่งเพื่อปิดรูที่นิ้วถ่างไปได้ยาก ในระยะเวลาเดียวกันนี้ ลุลลี (พ.ศ. 2175 - 2230 หรือ ค.ศ. 1632 - 1687) ก็นำฟลุตเข้ามาในการแสดงอุปรากร ต่อมา พ.ศ. 2220 (ค.ศ. 1677) ควานทุข์ (พ.ศ. 2240 - 2316 หรือ ค.ศ. 1697 - 1773) นักดนตรีประจำราชสำนักของพระเจ้าเฟรดเดริคมหาราชแห่งปรัชเซีย (พ.ศ. 2255 - 2329 หรือ ค.ศ. 1712 - 1786) ได้ติดกระเดื่องนิ้วเพิ่มขึ้นอีก 2 อันที่ขลุ่ย ในสมัยนั้นดูเหมือนว่าควานทุข์ จะเป็นผู้เดียวที่เชี่ยวชาญการเป่าฟลุตมากกว่าผู้ใด เขาได้แต่งคอนแชร์โต สำหรับฟลุตไว้ประมาณ 300 ชิ้น และยังเป็นพระอาจารย์ถวายการสอนฟลู้ตแด่ พระเจ้าเฟรดเดริคมหาราชจนพระองค์มีความชำนาญในการบรรเลง จากนั้น เธโอบัลด์โบม (Theobald Bohm พ.ศ. 2337 - 2424 หรือ ค.ศ. 1794 - 1881) นักเล่นฟลุตของวงดนตรีแห่งราชสำนักบาวาเรีย ได้ปรับฟลุตจนเป็นเครื่องดนตรีสำคัญ เขาได้เจาะรูและติดคีย์เพิ่มขึ้นอีก ปลายกระเดื่องตรงที่ปิดรูซึ่งเป็นฝากลมเล็กๆ เขาได้บุนวมเพื่อปิดรูให้สนิทยิ่งขึ้น โบมได้แก้ไขกลไกเสียใหม่จนรัดกุม สามารถเล่นเสียงต่างๆได้อย่างสะดวก ขลุ่ยของเขาจึงได้ชื่อว่า “ขลุ่ยโบม” (Bohm flute) และเป็นขลุ่ยที่ยังนิยมใช้กันมาจนทุกวันนี้ โบม ยังนับว่าเป็นคนแรกที่ประดิษฐ์ด้วยโลหะ ชนิดที่มีราคาแพงก็ทำด้วยเงิน ทองคำ ฟลุตที่ทำด้วยโลหะจะมีคุณภาพของเสียงเช่นเดียวกับฟลู้ตที่ทำด้วยไม้ หรืออีโบไนท์ ฟลู้ตมีความยาว 26.5 นิ้ว มีช่วงเสียงตั้งแต่ C กลางถึง C ที่สูงขึ้นไปอีก 3 คู่แปด (3 Octave) เสียงของฟลุตคล้ายเสียงของขลุ่ยทั่วๆไป คือเสียงต่ำจะนุ่มนวลเสียงสูงจะพราวพริ้วบริสุทธิ์แจ่มใส ฟลุตจึงเป็นดนตรีเล่นท่วงทำนอง (Melodic Instrument) และเหมาะใช้บรรเลงเดี่ยว (Solo) เสียงของฟลุตใช้เลียนเสียงนก ลมพัด ได้เป็นอย่างดี
ส่วนประกอบของฟลุ้ต

Headjoint หรือที่เรียกว่าปากเป่า เป็นตัวกำเนิดเสียง ประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้
Reflector อยู่ด้านในสุดของรูเป็นตัวสร้างเสียง
Lip Plate เป็นส่วนวางปาก ซึ่งบน Lip Plateจะมีปากเป่า (Embouchure)เป็นส่วนให้ผู้เล่นผิวลมเข้า
Crown เป็นส่วนที่อยู่บนสุดของฟลูต สามารถหมุนออกเพื่อปรับ Refector ได้
Body เป็นส่วนควบคุมเสียง โดยมีส่วนคีย์และกลไกในการเล่น อาจจะมีกลไกเพิ่มเติมเช่น
E Mechanism
Foot คือส่วนหางมี 2 ประเภทคือ C Foot และ B Foot โดยฟลุตที่เป็น C Foot จะเล่นเสียงต่ำสุดได้คือ Middle C และฟลุตที่เป็น B Foot จะเล่นเสียงต่ำสุดได้คือเสียง B (ต่ำกว่า Middle C ครึ่งเสียง) ฟลูตที่เป็น B Foot จะราคาแพงกว่า ยาวกว่า และหนักกว่า C Foot

การบำรุงรักษาฟลุต ( Flute )
ส่วนประกอบของตัวเครื่อง
1. ส่วนหัว ( กำพวด )
2. ตัวเครื่อง
3. ส่วนท้าย
4. กระเดื่อง
5. ปากเป่าตัว U
วิธีการประกอบเครื่อง


Piccolo
1. ทาขี้ผึ่ง Slide Grease บาง ๆ ที่ข้อต่อ ตามรูป
2. ประกอบส่วนตัวเครื่อง พยายามหลีกเลี่ยงการใช้แรงกดบนกระเดื่อง หรือแป้นนวม
3. หมุนจนเครื่องหมายที่ส่วนหัวและตัวเครื่องตรงกัน

Flute
1. ทำนองเดียวกัน ก่อนที่จะประกอบส่วนต่าง ๆ ของ Flute เข้าด้วยกัน ให้ทาขี้ผึ้งทาท่อโลหะ ( Slide Grease ) เพียงบาง ๆ ที่ข้อต่อ
2. หมุนให้เครื่องหมายที่ส่วนหัว และตัวเครื่องตรงกัน

การเทียบเสียง

ในการเทียบเสียง Flute ให้แม่นยำ จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้อง หมั่นตรวจสอบ Soundboard ให้อยู่ ในตำแหน่งที่ถูกต้อง วิธีการตรวจสอบ ทำได้โดย สอดเหล็กทำความสะอาดเข้าไปในปากเป่า สังเกตให้รอยบากบน เหล็กทำความสะอาด อยู่ตรงกลาง รูปากเป่าหากรอยบาก ไม่อยู่ตรงการก็ต้องขันน็อตที่หัวด้านปลายสุด แล้วดึงขึ้นลงปรับให้ตรงกับตำแหน่งตรงกลางพอดี เมื่อปรับ Sound Board ได้แล้ว การเทียบเสียง ให้ได้ระดับเสียง ที่ต้องการก็เพียงแต่ ปรับส่วนหัว ของเครื่อง เข้าออก จากตัวเครื่อง

การดูแลรักษาภายใน

ภายหลังจากการใช้เครื่อง ทุกครั้ง ควรปฏิบัติตามขั้นตอน ต่อไปนี้

1. นำผ้าสาลู ( Palishing Gaure ) สอดเข้ากับเหล็ก สอดทำความสะอาด ( Cleaning Rod ) สอดเข้ากับเหล็กทำความสะอาด (Cleaning Rod )
2. ค่อย ไ สอดเหล็กที่หุ้มด้วยผ้า เข้าไปในตัวเครื่อง เพื่อเช็ดทำความสะอาด น้ำลายและสิ่งสกปรก ที่ติดอยู่ภายใน
3. สำหรับ Piccolo ที่ทำด้วยไม้ วีการดูแลรักษาเครื่อง เหมือนกับการดูแลรักษา Clarinet

เพื่อยืด อายุการใช้งาน ของเครื่องดนตรีควรปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้ ทุกครั้ง ภายหลังจากการใช้เครื่องดนตรี
1. เช็ดทำความสะอาด ตัวเครื่องภายนอก ด้วยผ้า Palishing Clath โดย อาจจะชุบน้ำยา lacquer Palish สักเล็กน้อย เช็ดบริเวณที่สกปรกมาก สำหรับเครื่องที่เคลือบด้วยแลคเกอร์พิเศษ ห้ามใช้น้ำยา เช็ดนิเกิล (Metal Polish ) เพราะจะทำให้แลคเกอร์ที่เคลือบอยู่หลุดออกได้ ส่วนเครื่องที่ชุบด้วยเงินให้ใช้น้ำยาขัดเงิน ( Silver Polish ) แทน
2. การใช้น้ำยาขัดเครื่อง ควรกระทำเฉพาะบริเวณที่ตังเครื่องเท่านั้น การทำความสะอาด กระเดื่องนั้นควรนำผ้า มาพับเป็นแถบเล็ก แล้วสอดเข้ากับ ร่องต่าง ๆ ของกระเดื่อง เช็ดเพียงเบา ๆ หากเป็นซอก ที่ผ้าเข้าไปไม่ถึงก็ให้ใช้ลอดสักหลอด (Tone Hole Cleaner)

ระบบนิ้วในการจับฟลุ้ต


ประวัติวงโยธวาทิต


วงโยธวาทิต (Marching Band)
ประวัติวงโยธวาทิต
ความหมายของวงโยธวาทิต
ดุริยางค์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง องค์ของเครื่องดีด สี ตี เป่า มาจาก ตุริย + องค และมักจะใช้คำว่า “วงดุริยางค์” เรียกวงดนตรีประเภทหนึ่งซึ่งชาวตะวันตกเรียกว่า Orchestra

โยธวาทิต ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง “วงดนตรีที่บรรเลงโดยทหาร ซึ่งมาจากคำว่า โยธ แปลว่า ทหาร รวมกับคำว่า วาทิต แปลว่า ดนตรี หรือผู้บรรเลงดนตรี” โยธวาทิต “เป็นคำศัพท์ที่บัญญัติขึ้นโดยอาจารย์มนตรี ตราโมท ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน” ส่วนในรากศัพท์ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Military Band โดยคำว่า Military นั้นหมายถึงกองทัพ ส่วนคำว่า Band มาจากคำว่า Banda (ในภาษาอิตาเลียน) ใช้เรียกวงดนตรีประเภทหนึ่ง ในประเทศสหรัฐอเมริกาใช้คำว่า Marching Band ซึ่งไม่ว่ารากศัพท์จากภาษาต่างประเทศจะกล่าวอย่างไรแต่ในประเทศไทยเรียกว่าวงโยธวาทิต ที่ผสมวงโดยมีเครื่องดนตรีหลัก 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มเครื่องลมไม้ (Woodwind Instruments
2. กลุ่มเครื่องทองเหลือง (Brass Instruments)
3. กลุ่มเครื่องกระทบ (Percussion Instruments)
แต่เดิมนั้น คำว่า Band จะใช้เรียกวงดนตรีที่มีลักษณะเฉพาะของ พระเจ้าชาร์ลที่ 2 ซึ่งในสมัยนั้นจะหมายถึงวงดนตรีที่มีขนาดใหญ่ ในปัจจุบันเราใช้คำว่า Band ต่อท้าย วงดนตรีที่มีลักษณะการผสมเครื่องดนตรีในรูปแบบต่างๆกัน เช่น Wind Band, Military Band, Concert Band, Symphonic Band, หรือ Jazz Band เป็นต้น ตามรากศัพท์เดิม Banda นั้น หมายถึง วงดนตรีที่ประกอบด้วย กลุ่มเครื่องทองเหลือง และเครื่องกระทบ
วงโยธวาทิต เป็นวงดนตรีสำหรับทหาร มีจุดประสงค์ในการใช้งาน คือ การร้องเพลงซอยเท้าเข้าสู่สนามรบของทหาร บทบรรเลงส่วนใหญ่จะเป็นเพลงมาร์ช (March) หรือใช้ประกอบการสวนสนามของทหาร เพื่อปลุกใจในยามสงคราม หรือประกอบพิธีต่างๆของทหาร โดยเฉพาะ มีผู้บรรเลงจำนวนมาก มีเครื่องดนตรีจำพวกแตรทรัมเป็ต (Trumpet) เป็นเครื่องนำ “แตรทรัมเป็ต” ที่เป็นเครื่องดนตรีนำขบวนนั้นมีชื่อเรียกแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนกลุ่มใดเรียก เช่นแตรงอน, Alphorn, Buisine, Lituus, Slide Trumpet หรือทรัมเป็ตที่ใช้ในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เรียกว่า “แตรวิลันดา”(สุกรี เจริญสุข, 2539: 25) กล่าวถึงแตรวิลันดาว่า “ซึ่งเชื่อว่าเป็นแตรฝรั่งที่ชาวฮอลันดานำเข้ามาเป็นชาติแรกในกรุงสยามจึงเรียกว่าแตรวิลันดา คำว่าวิลันดานั้นน่าน่าจะหมายถึง ฮอลันดา” เสียงแตรที่เป่าจะเป็นสัญญาณที่ใช้ต่างกันตามโอกาสเช่น สัญญาณที่ให้ทหารบุกโจมตี สัญญาณ รวมพล สัญญาณแจ้งเหตุ หรือใช้ในกิจกรรมต่างๆ เช่น เพลงเดิน เพลงรุก เพลงรบ เพลงถอย เป็นต้น