วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

คลาริเน็ต


คลาริเน็ต เป็นเครื่องดนตรีจำพวกเครื่องเป่าลมไม้(woodwind instruments) ที่พัฒนามาจากเครื่องดนตรีในสมัยกลางเรียกว่า chalumeau คลาริเน็ตเป็นเครื่องดนตรีที่มักทำจากไม้หรือพลาสติก ทำให้เกิดเสียงโดยใช้ลิ้นเดี่ยว (single reed) ซึ่งรัดติดกับปากเป่าเช่นเดียวกับแซกโซโฟน. ช่วงเสียงคลาริเน็ต (Bb) เริ่มตั้งแต่ D (เขียนว่า E แต่เล่นแล้วออกเสียง D เนื่องจากเป็นคลาริเน็ตบีแฟลต มีเสียงต่ำกว่าที่เขียนไว้ 1 tone) เรื่อยขึ้นไปประมาณ 3 ½ คู่แปด

ประวัติ
คลาริเนต (Clarinet) คลาริเน็ต เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้ ที่พัฒนามาจากเครื่องดนตรีในสมัยกลางเรียกว่า Chalumeau คลาริเน็ตเป็นเครื่องดนตรีที่มักทำจากไม้หรือพลาสติก ทำให้เกิดเสียงโดยใช้ลิ้นเดี่ยว (single reed) ซึ่งรัดติดกับปากเป่าเช่นเดียวกับแซกโซโฟน ช่วงเสียงคลาริเน็ต (Bb) เริ่มตั้งแต่ D (เขียนว่า E แต่เล่นแล้วออกเสียง D เนื่องจากเป็นคลาริเน็ตบีแฟลต มีเสียงต่ำกว่าที่เขียนไว้ 1 tone) เรื่อยขึ้นไปประมาณ 3 ½ คู่แปด ประวัติ ประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ยามนั้นมีเครื่องเป่าหนึ่งชื่อว่า Memet ทำจากไม้ แล้วเหลาที่ปลายลำตัวเครื่องให้เป็นลิ้น ต่อมาราว 2,000 ปีที่แล้ว มีเครื่องดนตรีชื่อ ชาลูโม - Chalumeau เกิดขึ้น บรรเลงเรื่อยมาอีกเป็นพันปี ชาลูโม (Chalumeau) เป็นคำแสลง ภาษาฝรั่งเศส แปลว่า ประกายไฟ ไฟที่กำลังปะทุ (Firecracker) แต่ เมื่อมาเป็นชื่อเครื่องดนตรี ดังนั้น เวลาทำให้เป็นพหูพจน์ ต้องเปลี่ยนรูป เป็น ชาลูโมซ์ (Chalumeaux) ชาลูโม เป็นเครื่องดนตรีประเภทปี่ลิ้นเดี่ยว (Single Reed) ถือกำเนิดขึ้นในยุคกลาง ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12 และได้รับความนิยมมาจนถึงช่วงกลางยุคบาโร้ค เป็นบรรพบุรุษโดยตรงของ คลาริเน็ต (Clarinet) จนกระทั่งในยุคคลาสสิค คลาริเน็ต จึงมีบทบาทเข้ามาแทนที่ชาลูโม และรีคอร์เดอร์ ไปจนหมดสิ้น ชาลูโม (Chalumeau) กระทั่งช่วง ค.ศ.1690 นายเดนเนอร์ แห่งเมืองนูเรมเบิร์ก เยอรมนี ได้ดัดแปลงแล้วเรียกชื่อเป็น คลาริเน็ จากนั้นก็มีผู้พัฒนาการต่อมาเรื่อยๆ และเริ่มใช้กันอย่างแพร่หลายในวงออร์เคสตราเมื่อปี ค.ศ. 1780 (คลาริเน็ตเป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีโปรดของโมซาร์ท) และแทนที่โอโบในวงโยธวาทิตได้ในที่สุด ช่วง ค.ศ.1800 คลาริเน็ตมีคีย์เพิ่มเป็น 5-6 คีย์ ค.ศ.1812 ไอวาน มุลเลอร์ ได้ประดิษฐ์เป็น 13 คีย์ เพื่อให้เล่นเพลงได้หลากหลายขึ้น และเป็นผู้ที่หันลิ้นมาไว้ด้านล่างของปากเป่าแบบปัจจุบัน ต่อมา ค.ศ.1843 โกลส และ บัฟเฟต์ ครูสอนคลาริเนตในปารีสได้เอาระบบ Boehm ของฟลุตมาใช้กับคลาริเน็ต ตามด้วยการเพิ่มคีย์อีก 5 - 6 คีย์ โดย คาร์ล บาร์มานน์ ในค.ศ.1862 และการออกแบบใหม่ในต้นศตวรรษที่ 20 ค.ศ.1912 โดย โอสการ์ โอห์เบอร์ คำ Clarinet มาจากภาษาอิตาเลียน คลาริน่า-Clarina แปลว่า แตร ใส่คำวิเศษตามหลัง คือ - et แปลว่าเล็กๆ รวมเป็น คลาริเน็ต แปลว่า แตรอันเล็กๆ คลาริเน็ตเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้ ทรงกระบอกตรง ลำโพงบานออก และมีที่เป่าเป็นลิ้นเดี่ยว เล่นโดยใช้นิ้วปิดเปิดรูและกดคีย์ต่างๆ เกิดเสียงโดยการเป่าลมผ่านช่องแคบๆ ให้เข้าไปภายในท่อซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวขยายเสียงให้ดังขึ้น ลักษณะของเสียงที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันตามขนาดของท่อ ความสั้นยาวของท่อ และความแรงของลมที่เป่าเข้าไปภายในท่อ ลำตัวปี่คลาริเน็ตทำด้วยโลหะและไม้ หรือบางครั้งก็ทำด้วยยางหรือพลาสติก ลำตัวปี่กลวง เปลี่ยนระดับเสียงโดยใช้นิ้วและคีย์โลหะบุนวมปิดเปิดรูปี่ คลาริเน็ตมีรูปร่างคล้ายกับปี่โอโบ แตกต่างกันที่ปากเป่า (กำพวด) คุณภาพเสียงมีช่วงเสียงกว้างและทุ้มลึก มีนิ้วพิเศษที่ทำเสียงได้สูงมากเป็นพิเศษ

ชนิดของคลาริเน็ต

อีแฟลตคลาริเน็ต (โซปรานิโน)

อัลโตคลาริน็ต

เบสคลาริเน็ต

ส่วนประกอบคลาริเน็ต

วิธีการประกอบเครื่องดนตรีคลาริเน็ต
Eb Clarinet
1. ทาขี้ผึ้งสำหรับไม้ก๊อก ( Cark Grease ) บริเวณข้อต่อส่วนที่เป็นไม้ก๊อกตามรูป
2. ประกอบปากแตร และ Barrel เข้ากับตัวเครื่อง
3. ประกอบปากเป่าเข้ากับ Barrel


Bb Clarinet และ A Clarinet
1. ประกอบ Barrel เข้ากับข้อต่อบน และ ปากแตรเข้ากับข้อต่อล่าง
2. ใช้มือซ้ายจับท่อนบน โดยมือขวาจับข้อต่อล่างค่อย ๆ หมุนจนประกอบเข้ากันได้สนิท
3. ประกอบปากเป่าเข้ากับ Barrel
4. ในการประกอบส่วนต่าง ๆ เข้ากันด้วย พยายามหลีกเลี่ยงไม่ใช้แรงกด กระเดื่องมากจนเกินไป


Auto Clarinet และ Bass Clarinet
1. ใช้มือซ้ายจับข้อต่อบน โดยมือขวาจับข้อต่อล่าง ๆ ค่อย ๆ หมุนจนประกอบกันได้สนิท
2. เสร็จแล้วประกอบคอปากเป่า และปากแตรเข้ากับตัวเครื่อง
3. เฉพาะ Bass Clarinet ให้ประกอบคอปากเป่าเข้ากับตัวต่อบน

ขั้นตอนประกอบลิ้นกับปากเป่า
1. ประกอบปากเป่าเข้ากับคอปากเป่า
2. ประกอบลิ้นเข้ากับปากเป่า โดยให้ปากเป่าเหลื่อมออกมาเล็กน้อย ตามรูป ยึดด้วยที่รัดปากเป่าให้แน่น

วิธีการทียบเสียง
เนื่องจากอุณหภูมิมีผลกระทบต่อเสียง ( Picth ) ดังนั้น ก่อนที่จะทำการเทียบเสียงให้อบอุ่นเครื่องด้วยการเป่าลมเข้าไปในเครื่องดนตรีสักพัก แล้วจึงทำการเทียบเสียง


ซึ่งแต่ละเครื่องจะต่างกันดังนี้
1. Eb - Bb - A Clarinet ให้ดึง Barrel ( หมายเลขที่ 2 ออกจากข้อต่อบน ( หมายเลข 3 )
2. Auto Clarinet ให้ดึงคอปากเป่า ( หมายเลข 8 ) ออกจากตัวเครื่อง
3. Bass Clarinet ให้ดึงคอปากเป่าด้านบน

การดูแลรักษาเครื่องดนตรี

ทุกครั้งภายหลังจากการใช้เครื่อง ควรปฏิบัติตาม ขั้นตอนต่อไปนี้
1. ถอดลิ้นออกจากปากเป่า เช็คให้แห้ง เสร็จแล้วเก็บลิ้นเข้ากล่องให้เรียบร้อย
2. เช็คทำความสะอาดปากเป่าให้แห้ง โดยใช้ผ้าหยอดทำความสะอาด ( Cleaning Swab ) สอดเข้าไปทางด้านไม้ก๊อก ตามรูป
3. ถอดชิ้นส่วนต่าง ๆ ออกจากกันเสร็จแล้วทำความสะอาดภายในด้วยการสอดผ้าหยอดทำความสะอาด เจ้าท่อนข้อต่อบน เช็คให้แห้ง โดยเฉพาะบริเวณข้อต่อที่เป็นไม้ก๊อก สำหรับชิ้นส่วนอื่น ๆ ก็ให้ปฏิบัติเหมือนกัน
4. ซับความชื้นออกจากนวม ด้วยการนำกระดาษซับ ( Cleaning Paper ) สอดเข้าระหว่างรูเสียงกับนวม แล้วกดแป้นหรือ กระเดื่องของนวมนั้นหลาย ๆ ครั้งจนนวมแห้ง
5. เช็ดทำความสะอาดภายนอกด้วยผ้า Palishing Cloth แต่ถ้ากระเดื่องสกปรกมากก็ให้ใช้ผ้าชุบน้ำยา Silver Palish ทำความสะอาด แต่ไม่ควรใช้น้ำยาทำความสะอาดเครื่องเงินทำความสะอาดผิวไม้ สำหรับบริเวณที่ผ้าเข้าไม่ถึง และบริเวณรูเสียง ให้ใช้ลวดสักหลาด ( Tone hole Cleaner ) ทำความสะอาด
6. นำผ้าหยอดทำความสะอาดมาชุบน้ำมันรักษาเนื้อไม้ ( Bore Oil ) เพียงเล้กน้อยแล้วสอดเข้าไปในเครื่องหลาบ ๆ ครั้ง ระวังอย่าให้น้ำมันเปื้อนนวม เพราะจะทำให้นวมแห้ง และแข็ง น้ำมันรักษาเนื้อไม้จะป้องกันไม่ให้เกิดการแตกร้าว และบิดเบี้ยวได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น